|
|
ประวัติชุมชนห้วยด้วน
เครื่องดนตรีพื้นบ้าน
แนวทางการอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้าน
การแสดงดนตรีพื้นบ้านลาวครั่ง
โน้ตเพลง
ประมวลภาพ
|
ประวัติดนตรีพื้นบ้านชุมชนห้วยด้วน ชาติพันธุ์ลาวครั่ง |
|
|
เมื่อ 60 ปีก่อน ดนตรีพื้นบ้านชุมชนห้วยด้วนจะมี 2 ลักษณะคือ บรรเลงแคนเพียงเต้าเดียวประกอบการฟ้อนรำ
งานในงานแห่ธงสงกรานต์ ส่วนกลองยาวจะใช้ในการขบวนแห่ในงานมงคลต่างๆ ของชุมชน การตั้งชื่อวงกลองยาว
จะตั้งตามชื่อหมู่บ้าน เช่น คณะกลองยาวบ้านกงลาด คณะกลองยาวบ้านห้วยด้วน เป็นต้น |
|
|
|
ต่อมาผู้สูงอายุที่บรรเลงกลองยาวเริ่มอายุมากขึ้นประกอบกับการเสียชีวิตของคนตีกลองยาวจึงทำให้คณะกลองยาว
ที่มีในแต่ละหมู่บ้านลดลง เหลือเพียงคณะเดียว คือ กลองยาวคณะขวัญใจกงลาดที่ยังรับงานอยู่ นายจำรอง แป้นทอง
มีความสามารถในการเป่าแคน ก็นำแคนไปร่วมเล่นดนตรีกับเพื่อน ๆ ที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ได้ค่าตอบแทนคนละ
200-300 บาท ต่อ 1 งาน เมื่อมีเจ้าภาพจ้างไปแสดงแต่ละคนจะนำเครื่องดนตรีมาฝึกซ้อมร่วมกันที่บ้านของหัวหน้า
และไปแสดงที่ต่าง ๆ |
|
|
|
เมื่อปี พ.ศ. 2527 นายจำรอง แป้นทอง ซึ่งมีเพื่อนรุ่นเดียวกันและผู้อาวุโสกว่า
ได้รวมตัวกันและก่อตั้งวงขึ้น ชื่อว่า “ขวัญใจกงลาด” โดยนายจำรอง แป้นทอง เป็นคนลงทุน รวบรวมสมาชิกได้ประมาณ
6-8 คน เฉพาะที่เป่าแคนได้ ตีกลองเป็น และได้ก่อตั้งเป็นคณะแคนวงประยุกต์ มีคนเป่าแคน 1 คน กลองยาว
4 ใบ กลองใหญ่ 1 ใบ โดยยกให้นายประยงค์
แสงทอง เป็นหัวหน้าวง นายบุญทรง เหล่าสัมพันธ์ ผู้จัดการวง
แล้วรับงานแสดงตามสถานที่ต่าง ๆ ของวัดและหมู่บ้าน หรือในบางครั้งมีเจ้าภาพตามบ้านหาไปแสดง ครั้นเมื่อไปแสดง
ในขบวนแห่ นายประยงค์ แสงทอง เห็นว่าเสียงแคนไม่ดังพอจึงได้ใช้วิทยุเทปต่อเข้ากับตัวแคนติดกับเอว
เพื่อให้แคนมีเสียงดัง แต่ก็ยังไม่ดังพออีกจึงได้สร้างเครื่องขยายเสียงอีก 1 ชุด ให้ได้ยินเสียง
ดนตรีทุกชิ้นไปไกล ๆ เสียงดังขึ้นทำให้ผู้ร่วมงานแห่และนางรำ ได้เต้นและรำกันอย่างสนุกสนานเป็นที่ชอบใจ
แคนวงประยุกต์ “ขวัญใจกงลาด” จึงเป็นที่นิยมมากแต่มีเพียงคณะเดียวในหมู่บ้านกงลาด ตำบลห้วยด้วน
คนเป่าแคนอยู่ในวัยสูงอายุ คนหนุ่มรุ่นใหม่ก็หายากมีเพียงคนหนุ่ม 2 คน คือ นายครรชิต ใจภักดี เป่าแคนและนายเสนาะ
คำแสน ดีดพิณแคน |
|
|
|
ต่อมานายจำรอง แป้นทอง มีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านกงลาดมีความประสงค์ที่จะอนุรักษ์
ศิลปวัฒนธรรมไทยไว้คู่กับหมู่บ้านกงลาด ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2537 นายประยงค์ แสงทอง จึงปรับปรุงแคนวงประยุกต์
โดยเพิ่มสมาชิกคือแคนวง 2 เต้า โดยว่าจ้างนายปรด แก้วมา เป่าแคนเพลงลูกทุ่งเพิ่มอีก 1 คน เพิ่มกลองใหญ่และกลองยาว
และฉาบ ต่อมาจึงเพิ่มเครื่องขยายเสียงให้มีกำลังวัตต์มากขึ้น ใช้ลำโพงติดกับรถเข็น เมื่อเวลาไปงานในขบวนต่าง ๆ
โดยใช้ลำโพงติดกับรถดุนไปด้วยให้มีเสียงมากขึ้นทำให้เป็นที่รื่นเริงเร้าใจต่อผู้ได้ยินได้ฟังงานที่นิยมไปแสดง ได้แก่
งานบวชแห่นาค, งานทอดกฐิน, งานทอดผ้าป่าสามัคคี งานเจ้าและงานประเพณีแห่ธงสงกรานต์ของบ้านกงลาดจะขาดไม่ได้ |
|
|
|
|
|