การแสดงดนตรีพื้นบ้านลาวครั่ง  

แห่ธงสงกรานต์
                 การแห่ธงสงกรานต์ชุมชนห้วยด้วนเป็นประเพณีที่ชาวลาวครั่งจัดขึ้นทุกปีในช่วงหลังสงกรานต์ ช่วงอาทิตย์ที่ 3
ของเดือน กิจกรรมหมู่บ้านจะมีการกั้นด้วยผ้า มีพุ่มผ้าป่าตั้งไว้มีไม้มาปักรับบริจาคเพื่อนำไปติดหางธง คนในหมู่บ้านจะออกมา
เรี่ยไร จะมีคนหาบกระบุง มีคนเป่าแคนพากันไปเป็นกลุ่มตามบ้าน ได้ทั้งข้าวสารอาหารแห้ง บ้างก็นำเงินไปติดพุ่มผ้าป่า
ของชาวบ้านกันเอง  ชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านก็จะมารวมตัวช่วยกันทำหางธง ซึ่งเป็นผ้าสบงพระ  เสื่อ ทำเป็นผืนธงขนาด
สี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมทั้งตัดต้นไม้สีสุกลำที่สวยที่สุด นำมาเกลาข้อออก แล้วนำขมิ้นชันมาทาตามผิวไม้ไผ่ต้นธงสี่สวยงาม    
จนถึงวันแห่ธงสงกรานต์แต่ละหมู่บ้านก็จะมีดนตรี เช่น กลองยาว แคนวง แตรวง นำขบวนหางธง ต้นธง พร้อมประชาชนของ
แต่ละหมู่บ้านแห่สู่เข้าวัด ทุกหมู่ ทุกหางธง มาแห่ร่วมกัน ฟ้อนรำร่วมกัน จนถึงเวลา 5-6 โมงเย็น ถวายธงและถวายพุ่มผ้าป่า
รำวงฉลองรอบเสาธงก่อนกลับบ้าน และจะทำการสรงน้ำพระพุทธที่วัด

 

การเลี้ยงปีพ่อเฒ่า
                 การเลี้ยงปีพ่อเฒ่า เป็นประเพณีการจัดงานเลี้ยงพ่อเฒ่าที่มีศาลอยู่ในสาธารณะบ้านกงลาดที่หมู่ 6 ประจำปีละ
1 ครั้ง คำว่า พ่อเฒ่า หมายถึง เจ้าพ่อแสนหาญ คือเจ้าที่ได้รับสมมุติตามตำนานจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าสืบต่อกันกันมาว่าเป็น
ชาวลาวครั่งที่มีความกล้าหาญเชี่ยวชาญในการรบและความกล้าหาญ เป็นแกนนำของชาวลาวครั่ง เมื่อเจ้าพ่อแสนหาญ
สิ้นชีวิตไปแล้ว  ชาวลาวครั่งก็ยังนับถืออยู่   การเลี้ยงปีพ่อเฒ่าจะจัดขึ้นประมาณเดือน 6 -7 ของทุกปี ผู้นำชุมชน
จะประกาศรู้กำหนดวันเลี้ยงปีพ่อเฒ่าให้คนในชุมชนรับทราบเพื่อให้ครอบครัวได้เตรียมตำข้าวที่หุงกิน เตรียมน้ำให้เต็มตุ่ม
เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตและการจัดงานเลี้ยงปีพ่อเฒ่า 

                 ขั้นตอนการแสดงของการแสดงดนตรีพื้นบ้านมีการยึดขนบธรรมเนียมการแสดงดนตรีเป็นลำดับขั้นตอนตามประเพณี
ไทยโบราณ โดยเริ่มจากหัวหน้าวงทำพิธีไหว้ครู ผู้แสดงในคณะจะต้องมานั่งรวมกันแล้วพนมมือไหว้ครู หัวหน้าวงจะกล่าว
คำบูชาครูทางดนตรี  เมื่อกล่าวเสร็จ ถึงจะเริ่มบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย เพลงในจังหวะมาร์ชเพื่อบูชาครู เมื่อบรรเลง
จะหยุดซัก 5 นาที หลังจากนั้นจะเริ่มบรรเลงลูกทุ่ง เพลงสตริง เพลงอีสานต่อไปจนกว่าการแสดงหรือพิธีกรรมสิ้นสุดลง

              เพลงและท่าฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์ประจำในชุมชนชาวลาวครั่ง คือ เพลงไล่วัวขึ้นเขา เพลงนกเอี้ยงเหยียบก้อนขี้ไถ เพลงเหยียบแมงขี้เต่า เพลงฟ้อนรำชาวบ้าน  และยังบรรเลงในจังหวะรำวง เพลงลูกทุ่ง เพลงสตริง ให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน

 
     
 
 

ฟ้อนรำ

 

ท่าฟ้อนรำที่ 1  
นกเอี้ยงเหยียบก้อนขี้ไถ คือ คนเป่าแคนไปไถนา นกเอี้ยงบินตามคนไถนาเหยียบก้อนขี้ไถจากก้อนนี้ไปก้อนโน้น
เพื่อกินแมลง ไส้เดือน ด้วงที่ติดดินพลิกขึ้นมากับก้อนขี้ไถ
เลยจินตนาการใส่เพลงแคนฟ้อนรำ    คลิกฟังเพลงด่านล่าง

โน้ตเพลงนกเอี้ยงเหยียบก้อนขี้ไถ

01 02 03 04 05 06 07 08
 
     
 

ท่าฟ้อนรำที่ 2
ไล่วัวขึ้นเขา  คนเลี้ยงวัวเป่าแคน เห็นวัวเดินขึ้นเขาเพื่อหากิน
ใบไม้ใบหญ้า โขยกเขยก ตกหลุมตกร่องก็นำมาใส่ทำนอง
เป็นเพลงฟ้อนรำ     คลิกฟังเพลงด่านล่าง

โน้ตเพลงไล่วัวขึ้นเขา

01
 
     
 

ท่าฟ้อนรำที่ 3
ช้อนแมงขี้เต่า  คนเป่าแคนไปเห็นคนเอาตะแกรงไปเหยียบย่ำ
ช้อนแมงขี้เต่าแล้วเทใส่ตะฆ้องแมงขี้เต่าเป็นสัตว์น้ำมีปีกแข็งสีดำ
ขนาดลำตัวเท่านิ้วก้อย สามารถนำมาทำเป็นอาหารโดยนำมาคั่ว
กับเกลือแล้วกิน หรือเอายำกับผักแพงพวย (ผักน้ำ)  มีวิตามิน
และรสชาติอร่อยมาก    คลิกฟังเพลงด่านล่าง

โน้ตเพลงช้อนแมงขี้เต่า

01 02
 
     
 

ท่าฟ้อนรำที่ 4
ฟ้อนรำลาวครั่งพื้นบ้าน เป็นเพลงที่ให้คนฟ้อนรำได้ตามสบาย มีลักษณะคล้ายๆกับรำโทนในอดีต    คลิกฟังเพลงด่านล่าง

โน้ตเพลงฟ้อนรำลาวครั่งพื้นบ้าน

01 02